วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา


        การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

--------------------------------------------

                ข้าพเจ้าได้อ่าน “จดหมายถึงเพื่อนสมาชิก ฉบับที่ 99 ทีดีอาร์ไอ-ยูเนสโก เดินหน้าวิจัยปฏิรูประบบการเรียนรู้” ซึ่งเขียนโดย สุภกร บัวสาย (16 ก.พ. 56) สรุปว่า ในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพการศึกษา:การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีนักวิชาการและภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 40 คน โดยมี ศาสตรจารย์พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานและกล่าวเปิดงาน ความตอนหนึ่งว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อมาขับเคลื่อนการปฏิรูปหลักสูตร รวมถึงการพัฒนาตำราเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน"
                เรื่องแจ้งในที่ประชุมเกี่ยวกับ สพฐ. ได้จัดทุนวิจัยให้ทีดีอาร์ไอ ดำเนินงานชุดโครงการวิจัยเพื่อปฏิรูปการศึกษาใน 5 เรื่อง ได้แก่
1)            การปฏิรูปหลักสูตร
2)            การปฏิรูปการทดสอบมาตรฐานทางการศึกษา
3)            การปฏิรูประบบการพัฒนาสมรรถนะครูและประเมินครู
4)            การปฏิรูประบบการประเมินสถาบันทางการศึกษา
5)            การปฏิรูปการเงิน การคลังการศึกษา
                ทั้งห้าประเด็นนับเป็นตัวอย่างของการศึกษาวิจัย “ระบบ” หากผลวิจัยออกมาแม่นยำถูกต้อง และได้รับการนำไปปรับเปลี่ยนนโยบาย ก็ย่อมจะส่งผลถึง ระบบการศึกษาอย่างอเนกอนันต์
                การประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเพียงสองเรื่องด้วยภาษาอังกฤษ ได้แก่ เรื่องการปฏิรูปหลักสูตร และการทดสอบมาตรฐานทางการศึกษา ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงที่วิทยากรจากยูเนสโก 2 ท่าน ได้นำเสนอบทเรียนประสบการณ์ของต่างประเทศ
                นายกวาง โจ คิม ผู้อำนวยการยูเนสโก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ กล่าวว่าได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนในประเทศสิงคโปร์ที่เป็นโรงเรียนธรรมดา ๆ แต่ได้เห็นวิธีการเรียนการสอนที่ก้าวหน้าอย่างมาก
                สเตลล่า ยู นักวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของยูเนสโก ได้นำเสนอผลการศึกษา “การปฏิรูปหลักสูตรในต่างประเทศ” โดยย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรการเรียนการสอนที่ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย และเท่าทันต่อบริบทของการพัฒนาประเทศและแนวโน้มของโลก หลายประเทศจึงมีการประเมินการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ เช่น ญี่ปุ่น มีการทบทวนหลักสูตรทุก 10 ปี เวียดนามทุก 5-10 ปี และสิงคโปร์ทุก 6 ปี  เธอย้ำว่า หลักสูตรที่จะประสบความสำเร็จ ต้องก่อผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เชื่อมโยงกับชีวิต สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงควรเกิดจากการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยหลักสูตรที่ประเทศต่าง ๆ ใช้แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
                1) การจัดหลักสูตรจากส่วนกลาง โดยออกแบบเพื่อเน้นความเชี่ยวชาญ และความต้องการทักษะบางอย่าง ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น เกาหลีใต้ ลาว เป็นต้น
                2) การจัดหลักสูตรแบบยืดหยุ่น ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกกลุ่ม การปรับหลักสูตรให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมครูและผู้บริหารโรงเรียนให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ มากกว่าการปฏิบัติตามคำสั่ง ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย เป็นต้น
                3) การจัดหลักสูตรแบบผสมผสาน โดยจะมีการพัฒนาหลักสูตรกลางในบางวิชา และยืดหยุ่นให้โรงเรียนสามารถปรับเนื้อหาให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นได้ ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น จีน ฟิลิปปินส์           
                ในขณะที่หลักสูตรเก่าเน้น “เนื้อหาความรู้” แต่แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในโลกยุคใหม่ ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนา “ทักษะ” มากยิ่งขึ้น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม การสื่อสาร การเป็นผู้ประกอบการ
                นอกจากนี้ สเตลล่า ยังชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรมีคุณภาพ และเกิดการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่
                1) นโยบายการพัฒนาหลักสูตร ที่ควรให้อิสระต่อพื้นที่/ท้องถิ่นในการดำเนินการ รวมทั้งมีแผนและแนวทางชัดเจนในการปรับปรุงหลักสูตรด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
                2) การพัฒนาข้อสอบและวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตร และจำนวนข้อสอบไม่ควรมีมากเกินไป
                3) การพัฒนาสมรรถนะความเข้มแข็งของบุคลากรในท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาหลักสูตรได้เอง และ
                4) พัฒนาวิธีการเรียนการสอนและการลดภาระงานของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนลง

ความสำคัญ ความดี และคุณค่าจากสิ่งที่อ่าน
                จากข้อคิดเห็นนี้ ทำให้ต้องหันกลับมามองประเทศไทย ที่พยายามพัฒนาหลักสูตรที่คิดว่าดีที่สุด เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น แต่นับวันก็จะยิ่งแย่ลง เราเปลี่ยนหลักสูตรแต่ละครั้งใช้เวลา 6 ปี ซึ่งก็คล้ายกับประเทศอื่น ๆ จากหลักสูตรฯปี 44 มาหลักสูตรฯปี 51 แล้วกำลังจะเปลี่ยนอีกเร็ว ๆ นี้ จริงอยู่ที่หลักสูตรต้องเปลี่ยนให้ทันกับความก้าวหน้าของโลก แต่เมื่อกำหนดหลักสูตรแบบใด ก็ต้องพัฒนาครูให้ทันควบคู่ไปด้วย เพราะที่ผ่านมาต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ กับการใช้หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง แทนที่จะเกิดผลดีต่อเด็ก แต่สำหรับครูแล้วกลับมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เบื่อหน่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครูก็จะมีหลักสูตรไว้สำหรับให้ตรวจ แต่การเรียนการสอนจริง กลับไปใช้หนังสือเรียนจากสำนักพิมพ์ต่อไป ต่อให้หลักสูตรดีอย่างไร ถ้าเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติของครูไม่ได้ คุณภาพการศึกษาก็จะยังคงตกต่ำเช่นนี้ต่อไป
 

 
หมายเหตุ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) คือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand Development Research Institute) ก่อตั้งขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2527 เพื่อทำการวิจัยเชิงนโยบาย และเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายระยะยาวอันมีผลต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิง  http : // tdri.or.th/wp-content/uploads

 

                                                                  

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (9)


กิจกรรมที่ 9:1. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ก่อนนำหลักสูตรไปใช้
                ขั้นตอนการประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 4 ขั้นตอน คือ
                1) กำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินหลักสูตร
                    (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                   (2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                   (3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร
                   (4) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                   (5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และเป็นอุปสรรค ต่อประสิทธิภาพในการใช้หลักสูตร
                   (6) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                2) วางแผนการดำเนินการประเมิน
                กระบวนการ
                P (Plan) วางแผน
                - วางแผนร่วมกันกับครู และผู้บริหาร
                - วางแผนปฏิบัติการทำวิจัยร่วมกับค
                A (Action) ปฏิบัติตามแผน
                - สังเกต การสอน
                - สัมภาษณ์
                - สังเกต สภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                - ศึกษาเอกสาร
                O (Observe) สังเกตผลที่เกิดขึ้น
                R (Reflect) สะท้อนผลและแก้ไข
                - สะท้อนคิด (reflect)
                - เป็นพี่เลี้ยง (mentor)
                - สอนแนะ (coach)
                3) ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
                นำหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับร่างไปทดลองกับโรงเรียนต้นแบบ การใช้หลักสูตร จำนวน 555 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทละ 185 โรงเรียน ได้มาจากการคัดเลือกของเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตๆละ 3 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังใช้ในโรงเรียนที่มีความพร้อม และแสดงเจตจำนง ที่จะใช้หลักสูตรแกนกลางฯ คู่ขนานกับโรงเรียนต้นแบบ อีกจำนวนประมาณ 1,000 โรงเรียน ปีการศึกษา 2552 ใช้หลักสูตรแกนกลางในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 และทยอยใช้ในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษาถัดไปจนครบทุกชั้นในปีการศึกษา 2554 สำหรับ โรงเรียนทั่วไป เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
                4) การประเมินผลการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหลักสูตร ก่อนนำไปใช้จริง
                ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                (1) รูปแบบกระบวนการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการ จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร สถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืนในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                                                สพฐ. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุน สพท. และโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรค ของครูและโรงเรียน ในการนำหลักสูตรแกนกลางฯไปใช้ มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร
                ระดับสถานศึกษา
                 (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกัน อย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรคของครู และโรงเรียนในการนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้ เป็นอย่างไร
                ระดับห้องเรียน
                (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ระดับชั้นเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ของรายวิชาที่สอน ที่สอดคล้องเหมาะสม ตามหลักสูตรแกนกลางฯ เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนครู
                (5) ปัญหาอุปสรรคของครู ในการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (6) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร

                2. ฝึกปฏิบัติการประเมินหลักสูตร และเขียนแผนการประเมินหลักสูตร

                การประเมินหลักสูตร โดย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
                1) สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด การดำเนินการพัฒนากลักสูตรสถานศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนให้ ครูสามารถจัดการเรียนการสอน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผล และเป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                2) สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางฯ ขณะเดียวกันต้องสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ และการตอบสนองของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้แบบสังเกต
                3) สัมภาษณ์ผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้น การสังเกตการณ์สอนของครู โดยดำเนินการให้ครู หรือศึกษานิเทศก์ เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน ที่น่าสนใจ โดยให้เป็นเด็กกลุ่มเก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างน้อยกลุ่มละ 2 คน รวม 6 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเห็น ความพึงพอใจ ความต้องการของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู และการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                4) สัมภาษณ์ครู เป็นขั้นตอนหลังจากที่เสร็จสิ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแล้ว ให้ศึกษานิเทศก์ สัมภาษณ์ครู โดยมรวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบผลการสังเกต และให้ครูสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยใช้แบบการสัมภาษณ์
                5) สัมภาษณ์ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวัง และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางฯ โดยใช้แบบสัมภาษณ
                6) สังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall) เป็นการรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบรรยากาศทางวิชาการ หรือการส่งเสริมสนับสนุน การใช้หลักสูตรแกนกลางฯ เช่น การจัดการเรียนการสอนในห้องอื่นๆ พฤติกรรมของครูในห้องพักครู ประเด็นการพูดคุย และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการสอนภายในโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการสังเกตสภาพทั่วไป อาจดำเนินการก่อนการสังเกตการณ์สอน หรือหลังการสังเกตการสอนก็ได้
                7) ศึกษาเอกสาร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีหลักฐานที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนา และการใช้หลักสูตรแกนกลางฯมากขึ้น เช่น เอกสารข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน เอกสารหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ เป็นต้น
                เครื่องมือ
                ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
                1) แบบสังเกต
                2) แบบการสังเกตการสอน
                3) แบบการบันทึกการสังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                4) แบบสัมภาษณ์
                    (1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน
                    (2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน
                    (3) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา
                    (4) แบบสัมภาษณ์กรรมการสถานศึกษา
                    (5) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
                3) แบบบันทึกเอกสาร ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (ให้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลออกแบบบันทึกด้วยตนเอง)

                การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพ
                การตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การเชื่อมโยงแบบ 3 เส้า (triangulation) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายวิธี เช่น การสังเกตการณ์สอน การสังเกตสภาพทั่วไปของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ การศึกษาเอกสาร และหลักฐานร่องรอย
                การวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการ ดังนี้
                1) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสาร โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อหา ที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น (Manifest Content) ไม่วิเคราะห์เนื้อหา ที่มีความนัยแฝงอยู่ จากนั้นจะสรุปใจความในเอกสาร ตามประเด็นที่ศึกษา
                2) การวิเคราะห์อุปนัย (Analytic Induction) เป็นวิธีการที่ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสังเกต และการสัมภาษณ์ โดยการแยกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้
                3) การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเบื้องต้น คือ การแจกแจงความถี่ และการหาค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ได้จากแบบสอบถาม

                3. ฝึกปฏิบัติการเขียนระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ ตาม SOLO Taxonomy

                                 เชิงปริมาณ
                                   เชิงคุณภาพ
                 SOLO 1
      ระดับโครงสร้างเดี่ยว
              SOLO 2
ระดับโครงสร้างหลากหลาย
                 SOLO 3
ระดับความสัมพันธ์ของ       โครงสร้าง
                SOLO 4
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
1. บอกลักษณะภูมิอากาศของอำเภอบางบัวทอง(บอก ระบุ)
2. ระบุที่ตั้งของอำเภอบางบัวทองได้ (ระบุ)
1. รู้และเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่สำคัญของอำเภอบางบัวทอง (อธิบาย อธิบายได้ว่า)
2. บอกและอธิบาย ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบางบัวทองที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชากรในอำเภอบางบัวทอง (บอก อธิบาย)
1. สามารถรวบรวมข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทอง ในอดีตและปัจจุบัน (วางแผน)
2. ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทองในอดีตและปัจจุบัน(วิเคราะห์ เปรียบเทียบ)
1. อภิปรายและสรุป ถึงแนวทางในการอนุรักษ์ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีของอำเภอบางบัวทอง (อภิปราย สรุป)
2. คาดคะเน ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบางบัวทองในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล (คาดคะเน คิดอย่างมีเหตุผล)

               

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (8)


กิจกรรมที่ 8 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามประเด็นต่อไปนี้

                1. ศึกษาแนวคิด การจัดการเรียนการสอน หรือจัดการเรียนรู้
                คาลวิล สมิธ และคณะ (Dr Calvin Smith, Dr Duncan Nulty, Ms Mandy Lupton and Dr Heather Alexander.) ได้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้และการสอน ดังนี้
                1. สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียน ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจ และมีแรงกระตุ้นปัญญา
                 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหา และตั้งคำถาม อย่างมีวิจารณญาณ และส่งเสริมการสรรค์สร้าง อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
                3. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และการบูรณาการ ทฤษฎีและองค์ความรู้ ด้วยการปฏิบัติการอย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหา ที่นำไปใช้ได้จริง
                4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่พัฒนาความสามารถ ระหว่างวัฒนธรรม ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านสังคม และการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
                5. คุณค่าและความทรงจำ ของแต่ละบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบท ของการสนับสนุน และเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
                6. การเพิ่มการมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ของผู้เรียน มีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอน และ   กลยุทธ์ของการประเมิน
                7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาวิชาชีพ และการสะท้อนความคิด ให้สารสนเทศ ด้วยการประยุกต์แนวคิดของการวัดประเมินผล
                ทิศนา แขมมณี (2545 : 472) ได้ให้ความเห็นว่า ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสอน ที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย/จุดประสงค์ ของการสอนที่กำหนด ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด วิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลาย หรือได้มาจากการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างๆ ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบททางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบ การจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น

                ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความรู้ความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความสุข
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 181-182) กล่าวว่า การสอนเป็นศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่ง เนื่องจากงานของผู้สอนนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูล หรือแม้กระทั่งความรู้เท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องนำเสนอความรู้ ในลักษณะของการเสนอปัญหา ในบริบทใดบริบทหนึ่ง และเสนอปัญหาต่างๆอย่างถูกต้อง เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถนำวิธีแก้ปัญหานั้น ไปใช้กับเรื่องอื่นๆได้ต่อไป
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 107-122) สรุปไว้ว่า การศึกษาตลอดชีวิต อาศัยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
                1. การเรียนเพื่อรู้ คือการฝึกฝน ให้รู้วิธีที่จะเข้าใจ การเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้
                2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เพื่อจะได้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่แวดล้อมเราอยู่
                3. การเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน เพื่อสามารถมีส่วนร่วม และร่วมมือกับผู้อื่น ในกิจการทั้งปวงของมวลมนุษย์
                4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต เพื่อที่จะพัฒนามนุษย์ ให้เป็นบุคคลที่เพียบพร้อม เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต
                โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004 : 4) กล่าวว่า การที่จะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ
                1. ความรู้ (Knowledge) ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ในเนื้อหาสาระในวิชาที่สอน
                2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้สอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือ ที่ช่วยส่งผ่านเนื้อหาสาระ ที่จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจบทบาทได้ดีขึ้น
                3. ทักษะที่เกี่ยวข้อง (Involvement Skills) ผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักผู้เรียน อย่างน้อยจะต้องรู้จักชื่อ รู้จักว่าผู้เรียนมาจากไหน และควรให้ผู้เรียนแนะนำตนเองก่อนเรียน ผู้สอนควรถามตนเองว่ารู้จักผู้เรียนดีพอแล้วหรือไม่
                ดิค และแคเรย์ (Dick & Carey, 2004 : 4) เสนอแนวคิดไว้ว่า กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
                1. กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน
                2. การนำเสนอสารสนเทศในการเรียนรู้
                3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                4. การทดสอบ
                5. การติดตามผล
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล, 2547 : 170) ได้เสนอรูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (dimension of learning) ที่ช่วยให้ครูผู้สอน มีโครงสร้างเกี่ยวกับ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้มิติของการคิดมิติต่างๆ 5 มิติ
                มิติที่ 1 เจตคติและการรับรู้ (Attitude and Perception) ภาระงานการออกแบบ หลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมีเป้าหมาย สร้างเจตคติที่ดี และการรับรู้เชิงบวกต่อการเรียนรู้ เพราะทั้งเจตคติและการรับรู้ มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้
                มิติที่ 2 การแสวงหาความรู้ และการบูรณาการความรู้ (Acquire and Integrate Knowledge) ภาระงานออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมุ่งช่วยให้ผู้เรียน สามารถโยงความรู้ใหม่ เข้ากับความรู้เดิม จัดระบบข้อมูล ได้อย่างมีเป้าหมาย และสร้างให้เกิดความจำในระยะยาว (long term memory) ในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการใหม่ ผู้เรียนต้องเรียนรู้รูปแบบ/ลำดับขั้นก่อน จากนั้นฝึกทักษะตามขั้นตอน หรือกระบวนการเพื่อทำให้เป็น และท้ายที่สุด ฝึกฝนทักษะกระบวนการเหล่านั้นเพื่อให้ทำได้อย่างคล่องแคล่ว
                มิติที่ 3 การขยายและปรับแต่งความรู้ (extend and refine knowledge) การเรียนรู้เพื่อให้รู้ลึกรู้จริง ในสิ่งที่เรียนต้องไม่หยุด อยู่เพียงมิติที่ 2 แต่จ้องให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยกระบวนการแตกหน่อ ต่อยอด และปรับแต่งความรู้ให้รู้จริงยิ่งขึ้น ภาระงานที่ออกแบบ จึงต้องมีจุดมุ่งหมาย ในการช่วยให้ผู้เรียน ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และเชื่อมโยงกับระดับความคิดที่สูงขึ้น โดยได้ทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ในการใช้ความคิด ใช้ความเป็นเหตุเป็นผ
                มิติที่ 4 การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย (use knowledge meaningfully) การเรียนรู้ที่บังเกิดผลสูงสุด จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ในการปฏิบัติภาระงาน ที่มีความหมายต่อตน มิใช่เรียนโดยไร้ความหมาย การเรียนรู้ที่จะทำให้มีความหมาย จะต้องมีการวางแผน ออกแบบ ภาระงานให้ผู้เรียน ได้ผ่านกระบวนการคิด ที่มั่นใจว่าผู้เรียน ได้ใช้ความรู้นั้นอย่างเกิดผล
                มิติที่ 5 จิตนักคิด (productive habits of mind) นักคิดจะมีนิสัย รักการสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ และรู้จักระบบควบคุมพฤติกรรมของตน ภาระงานการเรียนรู้ ต้องร่วมสร้างผู้เรียน ให้มีนิสัยนักคิดเหล่านี้
                มิติการเรียนรู้ทั้ง 5 นี้ มิได้เกิดเป็นลำดับขั้น แต่เป็นการสนับสนุนกันและกัน กล่าวคือ จะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ ผู้เรียนต้องคงความมีเจตคติที่ดีตลอด เมื่อผู้เรียนมีเจตคติที่ดี (มิติที่ 1) ย่อมอยากเรียน การเรียนรู้ก็จะง่ายขึ้น และถ้ามีจิตนักคิด (มิติที่ 5) ก็จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ฉะนั้นมิติที่ 1 และมิติที่ 5 จึงเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการคิดที่ต้องการในมิติที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้การคิดในมิติที่ 2,3 และ 4 เป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้เป็นทักษะการคิดที่แยกส่วน หรือเป็นลำดับต่อเนื่องกัน แต่สามารถเกิดในช่วงการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันได้
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล. 2547 : 170) เสนอกลวิธีการสอน ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ดังนี้
                1. การระบุความเหมือนและความแตกต่าง
                2. การสรุปความ และการจดบันทึกย่อ
                3. การเสริมแรงความเพียรพยายาม และการยอมรับ
                4. การบ้านและการฝึกปฏิบัติ
                5. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้ภาษา
                6. การเรียนรู้แบบร่วมมือ
                7. การกำหนดวัตถุประสงค์ และการให้ผลย้อนกลับ
                8. การตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
                9. คำถาม ตัวแนะและโครงสร้างความคิด ก่อนการเรียนการสอน

                2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ
                                        เปรียบเทียบการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ

                          การสอนโดยตรง
                         การสอนตามความสนใจ
     การเรียนการสอนโดยตรง (Direct Instruction Methods)
     ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน และกำหนดอัตราการพัฒนา ในการเรียนการสอน ในแต่ละตอนได้
- ผู้เรียนเรียนรู้เป็นลำดับ จากชุดของสื่อการเรียนรู้ หรือภาระงานภายใต้การนิเทศงาน ของครูผู้สอนโดยตรง
การสอนโดยตรงควรนำมาใช้ เมื่อมีความต้องการ ดังนี้
     1. การเรียนรู้ทักษะ และสารสนเทศโดยเฉพาะ
     2. การเรียนการสอนต้องการให้การเรียนรู้ทักษะ
     3. คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
     4. ต้องมีแรงจูงใจภายนอก เช่น ในรูปแบบของเรื่องราว  
         การสาธิต และเหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
ลักษณะของการสอนโดยตรง:
     1. ผลการเรียนรู้คาดหวังชัดเจน
     2. การสอนกลุ่มใหญ่ที่ครูเป็นผู้สอน
     3. การกำกับติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
     4. มีการตั้งคำถามความคิดในระดับต่ำ
การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1: การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
     ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจมากเพียงพอ ที่จะเกิดความตั้งใจ ในภาระงานที่เรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย และมีส่วนร่วมจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 2 : การนำเสนอข้อมูลใหม่ การถ่ายทอดข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียนผ่านวิธีต่างๆ
     การอธิบาย-พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อคำถาม
                      -ถามทีละขั้นตอน
     การสาธิต-การเรียนการสอนที่ซับซ้อน เครื่องมือมีจำกัด   
                    -คำนึงถึงความปลอดภัย
                    - ต้องมีทักษะการคิดระดับสูง
     ตำรา-แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
     แบบฝึกหัดและการฝึกเขียนสำหรับผู้เรียน
           -การจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
                         การสอนโดยตรง                                      
     การสอนตามความสนใจ คือการสอนแบบ 4 MAT มีขั้นตอนการสอน ดังนี้
     1. ให้แต่ละคนตระหนักด้วยตนเองว่า ทำไมต้องเรียน
     2. วิเคราะห์ประสบการณ์
     3. ปรับประสบการณ์ เป็นความคิดรวบยอด
     4. หาความรู้เพิ่ม
     5. ทำตามแนวความคิดที่กำหนด
     6. ลงมือทำโดยสร้างชิ้นงาน ตามความถนัด และความสนใจ ให้เหมาะสมด้วยตนเอง
     7. วิเคราะห์ผล
     8. แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้อื่น หรือประยุกต์ใช้
 
      โสตทัศนูปกรณ์-ความน่าสนใจและแม่นยำในการ 
                                  นำเสนอข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 3: การแนะแนวทางการปฏิบัติ การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการนำไปประยุกต์ใช้
     สาระเบื้องต้น คือ การยืนยันความถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิด และข้อเสนอแนะ
     ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่ม จะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
     โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้างต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ
 


                3. นำเสนอนวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ
                                            ตัวอย่างนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                1. รายงานการวิจัย ผลการพัฒนาความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                2. ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
                   1) คู่มือการจัดทำศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                   2) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                   3) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 2 เรียนรู้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
                   4) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 3 นักวิทยาศาสตร์น้อย
                3. คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
                4. รายงานผลการจัดทำ และการใช้ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4