วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (3)


กิจกรรมที่ 3 : การเลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หรือหลักสูตรตามความสนใจ ตามประเด็นต่อไปนี้

                3.1 ศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และเลือกมาใช้พัฒนาหลักสูตร

                เลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ดังนี้
                1. แหล่งข้อมูล
                    - จากการศึกษา
                    - จากมาตรฐานการเรียนรู้
                    - จากการสัมภาษณ์บุคคล(ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
                2. กำหนดวัตถุประสงค์(ฉบับร่าง)
                3. กลั่นกรอง
                4.จุดประสงค์ของหลักสูตร
                5. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้(กำหนดเนื้อหาในแต่ละหน่วยการจัดการเรียนรู้/แผน)
                6.การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้(การจัดการเรียนการสอนตามแผน)
                7.การประเมิน(ประเมินหลักสูตร ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน)
 
                3.2 เขียนแผนผังมโนทัศน์กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ด้วยการอุปมาอุปมัย อาทิ การพัฒนาหลักสูตรเปรียบเสมือน...(ผู้เรียนเสนอแนวคิดเปรียบเทียบ)
 
 หลักสูตรก็เปรียบได้กับรถยนต์ ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ รถผลิตในประเทศ รถนำเข้าจากต่างประเทศ เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีทั้งเก่าและใหม่ บางคนก็แสวงหารถใหม่มาใช้ แต่บางคนก็ยังอนุรักษ์ของเก่าอยู่ แต่บางคนก็มี ทั้งสองอย่าง เลือกใช้ตามภารกิจและตามความพอใจ คือวิ่งระยะใกล้-ระยะไกล วิ่งนอกเมือง-ในเมือง สำหรับไปงานพิธีการหรือส่วนตัว ซึ่งก็เช่นเดียวกับความหมายของหลักสูตรที่มีความหลากหลาย มีทั้งหลักสูตรในระบบโรงเรียน-นอกระบบโรงเรียน อาจเป็นรายวิชา เป็นหน่วย เป็นแผนการ หรือโครงการ ซึ่งผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ จะเลือกใช้แบบใดก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ ภายในหลักสูตรยังประกอบไปด้วยรายละเอียดของโครงสร้างหลักสูตร เช่น หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการ เป็นต้น เช่นเดียวกับรถยนต์ซึ่งมีชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวรถ และทุกชิ้นส่วนล้วนมีความสำคัญที่ประกอบเข้ากันตามขั้นตอน หรือเป็นระบบ และรถยนต์จะวิ่งไปไม่ได้ถ้าปราศจากคนขับ และไม่มีถนน เช่นเดียวกับหลักสูตรจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ หรือผู้ปฏิบัติ ถึงแม้หลักสูตรจะดีอย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่เข้าใจ ใช้ได้ไม่ดีไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่บรรลุเป้าหมาย รถยนต์ต้องวิ่งไปตามเส้นทาง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ หัวใจสำคัญคือ คนขับ ระหว่างทางอาจเจอสภาพปัญหามากมาย เช่นทางแคบ ทางโค้ง ฝนตก ถนนลื่น เช่นเดียวกับผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ ต่างก็พบปัญหาและอุปสรรคมากมาย เช่นความไม่ชัดเจนของตัวหลักสูตร ความไม่เข้าใจของตัวครู ความไม่สนใจของนักเรียน ความไม่ใส่ใจของผู้บริหาร ขาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

                3.3 ระบุองค์ประกอบของ “หลักสูตร” ที่พัฒนาขึ้นตามความสนใจ

                1. วิสัยทัศน์ (Vision)
                2. พันธกิจ (Mission)
                3. จุดหมาย
                4. เป้าหมาย
                5. คุณภาพผู้เรียน
                6. โครงสร้างเนื้อหา
                7. การจัดการเรียนการสอน
                8. สื่อการเรียนรู้
                9. การวัดและประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น