วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (7)


กิจกรรมที่ 7: ฝึกปฏิบัติการ ออกแบบหลักสูตร และการสอน ตามประเด็นต่อไปนี้
                1. ศึกษาแนวคิดการจัดหลักสูตร รูปแบบต่างๆ

                ตามคำถามข้อที่ 3 ของ ไทเลอร์ (Tyler, 1969 : 83) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ให้ได้ประสิทธิภาพ หมายความรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศกำกับติดตาม การจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ
                แนวคิดการจัดหลักสูตร ได้แก่
                แกลทธอน (Glatthorn, 2009) การจัดระบบหลักสูตร หรือการจัดการหลักสูตร มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ประกอบด้วย
                1) การนิเทศหลักสูตร (Supervising the Curriculum)
                2) การพัฒนาหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ (Development and Implement)
                3) การจัดลำดับเนื้อหาหลักสูตร (Aligning the Curriculum)
                4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
                ออร์นสไตน์ และฮันกิน (Ornstein and Hunkins, 1993 : 233) การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organization) หมายถึง การจัดโครงสร้างของส่วนประกอบ ของหลักสูตร 4 ส่วน คือ เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล
                เฮนเสน (Hensen, 2001 : 199-201) การจัดระบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพัฒนา 6 ประการ คือ
                1. การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร
                ขอบข่ายของหลักสูตร (Scope) หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร แต่ละระดับชั้น การจัดหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องในแนวนอน ที่เรียกว่า horizontal organization ดังนี้
                1) วุฒิภาวะ ประสบการณ์ และความสามารถของผู้เรียน
                2) ความยากง่ายของธรรมชาติในสาขาวิชา หรือเนื้อหาวิชา
                3) ความทันสมัย และความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
                4) ความสมดุลระหว่างความกว้าง ความลึกของเนื้อหาวิชา
                5) คุณค่าของเนื้อหา ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
                2. การจัดลำดับการเรียนรู้
                การจัดลำดับการเรียนรู้ (sequence) หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นที่สำคัญต่างๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา การจัดลำดับการเรียนรู้ จึงเป็นมิติของการจัดหลักสูตร ให้มีความต่อเนื่องในแนวตั้ง ที่เรียกว่า vertical organization การจัดลำดับการเรียนรู้
                1) การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากและซับซ้อน
                2) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว
                3) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม
                4) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่เป็นส่วนรวมไปสู่ส่วนย่อย หรือจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนรวม
                5) การจัดลำดับการเรียนรู้ ตามลำดับความจำเป็น ที่ต้องเรียนก่อน-หลัง
                6) การจัดลำดับการเรียนรู้ ตามลำดับเหตุการณ์ หรือตามกาลเวลา
                3. ความต่อเนื่อง
                ความต่อเนื่องของหลักสูตร (continuity) หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่าย และลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
                4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง
                การจัดหลักสูตรที่ดี ควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง (articulation) ให้มีความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน ทั้งมิติในแนวตั้ง และแนวนอน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทย มีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น ส่วนความเชื่อมโยงในแนวตั้ง เช่น การจัดเนื้อหาเรื่องสิ่งมีชีวิต ในวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องไปยังเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้น
                5. การบูรณาการ
                การบูรณาการ (integration) เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหา และประสบการณ์การเรียนรู้ ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวนอน จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่ง ของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่ง ไปยังอีกรายวิชาหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
                6. ความสมดุล
                หลักสูตรที่ดี นอกจากจะต้องคำนึงถึง การจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณา ด้านความสมดุลของเนื้อหา (balance) ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระ กับวุฒิภาวะของผู้เรียน

                2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอน แบบวิจัยเป็นฐาน และการสอนตามแนวคอนสตรัค
                                 เปรียบเทียบขั้นตอนการสอนแบบวิจัยเป็นฐาน และแบบคอนสตรัค

                          แบบวิจัยเป็นฐาน
                              แบบคอนสตรัค
ขั้นที่ 1 กำหนดจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร     
ขั้นที่ 1 การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง ผู้เรียนนั้นจะมีความคิดดั้งเดิม จึงต้องชักชวนให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนมโนทัศน์และยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
       กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 1
·        สัมภาษณ์ หรืออภิปรายกลุ่ม
·        แบ่งกลุ่มข้อมูล – เรียงลำดับข้อมูลตามลักษณะบางประการ (เช่น มวล)
·        จำแนกข้อมูล – จัดกลุ่มวัตถุโดยใช้ลักษณะทางคุณภาพหรือปริมาณ (สี รูปร่าง ขนาด)
·        แผนผังมโนทัศน์ – ระดมสมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก
·        เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง – เหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล
ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของ
แต่ละหน่วย และ แต่ละบทเรียน
ขั้นที่ 2 การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
        การวางแผนแบบร่วมกัน :
·        การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง
·        ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง
      อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเรียนรู้ :
·        หาขอบข่ายสาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
      กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 2
·        นักจัดการขั้นสูง – ข้อมูลใหม่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร
·        การรู้คิด – ผู้เรียนกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง
              -  ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ดัวยตนเอง
·        เทคนิควิทยาศาสตร์
- ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบาย
- ตัดสินใจด้วยตนเอง
-ปรัชญาส่วนบุคคล การใช้ความคิดอุปมาอุปมัย
-ใช้แนวคิดที่คุ้นเคยนำแนวคิดอุปมาอุปมัยมาใช้
ขั้นที่ 3 พัฒนาแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้
             - ออกแบบกลวิธีการสอน
             - กำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องมือประเมิน
             - การออกแบบ หรือเลือกเครื่องมือประเมิน
ขั้นที่ 3 การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
         ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้:
·        ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้น จากการมีสัมพันธ์ทางสังคม
·        ความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้อง เมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์
·        ความรู้ที่ได้รับจะถูกปรับแต่งตามข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ
 
        กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 3
·        การเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างและออกแบบโมเดล
·        การทดลอง/ออกแบบและเทคโนโลยี:ใช้สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน
·        วิธีการแบบบูรณาการ:สร้างความเชื่อมโยงหัวข้อคำถามกับแนวคิดอื่น
·        สาขาวิชา(แนวคิดหลัก): ประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงสอดคล้อง
 
ขั้นที่ 4 การเรียนการสอน/การเรียนรู้
            1. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
            2. การวางแผนการเรียนรู้
            3. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
            4. การสรุป/การวิพากษ์ความรู้
            5. การประเมินการเรียนรู้
 
ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้
            - ประเมินระหว่างสอน
            - ประเมินหลังสอน
 


                3. นำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ

                                                  แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1                                                                           ระยะเวลาในการสอน     1    ชั่วโมง
เรื่อง   ประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
วันพฤหัสบดี ที่  28  พฤษภาคม  2555                                                                   เวลา  13.30 14.30

1.  สาระสำคัญ     

                อำเภอบางบัวทองเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การศึกษาความเป็นมาของอำเภอบางบัวทองจึงต้องเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันทั้งจังหวัดนนทบุรี  ซึ่งการศึกษาความเป็นมาจะทำให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในอำเภอบางบัวทอง และจังหวัดนนทบุรีอีกด้วย

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้ 
2.1 บอกและอธิบายความหมาย และความสำคัญของ ตรา  สัญลักษณ์ และต้นไม้ของจังหวัดนนทบุรีได้
2.2 เล่าประวัติความเป็นมาของจังหวัดนนทบุรีที่เกี่ยวข้องกับอำเภอบางบัวทองได้
2.3 บอก อธิบาย ความหมายและความสำคัญของคำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี และคำขวัญ           อำเภอบางบัวทองได้

3.  เนื้อหา
 3.1 ตราประจำจังหวัด สัญลักษณ์ และต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี
 3.2 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนนทบุรีที่เกี่ยวข้องกับอำเภอบางบัวทอง
 3.3 คำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี และคำขวัญประจำอำเภอบางบัวทอง

4.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
                4.1 ขั้นนำ             
                    1. นักเรียนร่วมกันร้องเพลงนนทบุรีเมืองงาม ตามเอกสารใบงานที่ 1
                    2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้จากวิทยากร การมีมารยาทในการฟัง และการถาม การตอบคำถาม การให้เกียรติ และให้ความเคารพอย่างเหมาะสม
                    3. ครูแนะนำนักเรียนให้รู้จักวิทยากรท้องถิ่น ที่จะมาให้ความรู้กับนักเรียน ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของอำเภอบางบัวทอง  ตราประจำจังหวัด  สัญลักษณ์ ต้นไม้ คำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี และคำขวัญประจำอำเภอบางบัวทอง (วิทยากร)
               4.2  ขั้นสอน
                   (1) วิทยากรเล่า และอธิบายประวัติความเป็นมา ของจังหวัดนนทบุรี ที่เกี่ยวข้องกับ อำเภอบางบัวทอง  เอกสารประกอบใบความรู้ที่ 2
                   (2) วิทยากรนำรูปตราประจำจังหวัด  สัญลักษณ์ และต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี  ให้นักเรียนดู  ร่วมกันสนทนาถึงเนื้อหา ความหมาย  และความสำคัญ
                   (3) นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 3 เกี่ยวกับคำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี เนื้อหา ความหมาย และความสำคัญของคำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี และคำขวัญประจำอำเภอบางบัวทอง 
                   (4) นักเรียนซักถามวิทยากรเพิ่มเติมตามความสนใจ
                   (5)ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม โดยให้คละชายหญิง และเด็กเก่ง เด็กอ่อน เพื่อให้นักเรียนได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนอย่างทั่วถึง และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                   (6) ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะของอำเภอบางบัวทองในอดีต และปัจจุบันโดยศึกษาจากใบความรู้เพิ่มเติม
               4.3  ขั้นสรุป
 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรและปฏิบัติตามบัตรกิจกรรม

5.  สื่อการเรียนการสอน
 5.1 ใบความรู้ที่ 1 เพลงนนทบุรีเมืองงาม
 5.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง(วิทยากร
             5.3 ใบความรู้ที่ 2 ประวัติอำเภอบางบัวทอง
             5.4 ใบความรู้ที่ 3 คำขวัญประจำจังหวัดนนทบุรี
             5.5 รูปตราประจำจังหวัด  สัญลักษณ์ และต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี 
             5.6 บัตรกิจกรรมที่ 1

6.  การวัดผลและประเมินผล
             6.1 สังเกตจากความสนใจในขณะร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
             6.2 การนำเสนอผลงาน
             6.3 ตรวจงานตามบัตรกิจกรรมที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น