การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
--------------------------------------------
ข้าพเจ้าได้อ่าน
“จดหมายถึงเพื่อนสมาชิก ฉบับที่ 99 ทีดีอาร์ไอ-ยูเนสโก เดินหน้าวิจัยปฏิรูประบบการเรียนรู้” ซึ่งเขียนโดย
สุภกร บัวสาย (16 ก.พ. 56) สรุปว่า ในการประชุมทางวิชาการ
เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพการศึกษา:การพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีนักวิชาการและภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 40 คน โดยมี
ศาสตรจารย์พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานและกล่าวเปิดงาน
ความตอนหนึ่งว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ
เพื่อมาขับเคลื่อนการปฏิรูปหลักสูตร
รวมถึงการพัฒนาตำราเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน"
เรื่องแจ้งในที่ประชุมเกี่ยวกับ
สพฐ. ได้จัดทุนวิจัยให้ทีดีอาร์ไอ ดำเนินงานชุดโครงการวิจัยเพื่อปฏิรูปการศึกษาใน 5 เรื่อง ได้แก่
1)
การปฏิรูปหลักสูตร
2)
การปฏิรูปการทดสอบมาตรฐานทางการศึกษา
3)
การปฏิรูประบบการพัฒนาสมรรถนะครูและประเมินครู
4)
การปฏิรูประบบการประเมินสถาบันทางการศึกษา
5)
การปฏิรูปการเงิน
การคลังการศึกษา
ทั้งห้าประเด็นนับเป็นตัวอย่างของการศึกษาวิจัย
“ระบบ” หากผลวิจัยออกมาแม่นยำถูกต้อง และได้รับการนำไปปรับเปลี่ยนนโยบาย
ก็ย่อมจะส่งผลถึง ระบบการศึกษาอย่างอเนกอนันต์
การประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเพียงสองเรื่องด้วยภาษาอังกฤษ
ได้แก่ เรื่องการปฏิรูปหลักสูตร และการทดสอบมาตรฐานทางการศึกษา
ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงที่วิทยากรจากยูเนสโก 2 ท่าน ได้นำเสนอบทเรียนประสบการณ์ของต่างประเทศ
นายกวาง โจ
คิม ผู้อำนวยการยูเนสโก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้
กล่าวว่าได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนในประเทศสิงคโปร์ที่เป็นโรงเรียนธรรมดา ๆ
แต่ได้เห็นวิธีการเรียนการสอนที่ก้าวหน้าอย่างมาก
สเตลล่า ยู
นักวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของยูเนสโก ได้นำเสนอผลการศึกษา
“การปฏิรูปหลักสูตรในต่างประเทศ” โดยย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรการเรียนการสอนที่ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย
และเท่าทันต่อบริบทของการพัฒนาประเทศและแนวโน้มของโลก
หลายประเทศจึงมีการประเมินการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ เช่น ญี่ปุ่น
มีการทบทวนหลักสูตรทุก 10 ปี เวียดนามทุก 5-10
ปี และสิงคโปร์ทุก 6 ปี เธอย้ำว่า หลักสูตรที่จะประสบความสำเร็จ
ต้องก่อผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เชื่อมโยงกับชีวิต สังคม และเศรษฐกิจ
รวมถึงควรเกิดจากการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยหลักสูตรที่ประเทศต่าง ๆ
ใช้แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1) การจัดหลักสูตรจากส่วนกลาง
โดยออกแบบเพื่อเน้นความเชี่ยวชาญ และความต้องการทักษะบางอย่าง
ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น เกาหลีใต้ ลาว เป็นต้น
2) การจัดหลักสูตรแบบยืดหยุ่น
ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกกลุ่ม
การปรับหลักสูตรให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น
และเป็นการส่งเสริมครูและผู้บริหารโรงเรียนให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้
มากกว่าการปฏิบัติตามคำสั่ง ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย
เป็นต้น
3) การจัดหลักสูตรแบบผสมผสาน โดยจะมีการพัฒนาหลักสูตรกลางในบางวิชา
และยืดหยุ่นให้โรงเรียนสามารถปรับเนื้อหาให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นได้
ตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น จีน ฟิลิปปินส์
ในขณะที่หลักสูตรเก่าเน้น “เนื้อหาความรู้” แต่แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในโลกยุคใหม่ ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนา “ทักษะ” มากยิ่งขึ้น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม การสื่อสาร การเป็นผู้ประกอบการ
ในขณะที่หลักสูตรเก่าเน้น “เนื้อหาความรู้” แต่แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในโลกยุคใหม่ ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนา “ทักษะ” มากยิ่งขึ้น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม การสื่อสาร การเป็นผู้ประกอบการ
นอกจากนี้
สเตลล่า ยังชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรมีคุณภาพ
และเกิดการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่
1) นโยบายการพัฒนาหลักสูตร
ที่ควรให้อิสระต่อพื้นที่/ท้องถิ่นในการดำเนินการ
รวมทั้งมีแผนและแนวทางชัดเจนในการปรับปรุงหลักสูตรด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
2) การพัฒนาข้อสอบและวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตร
และจำนวนข้อสอบไม่ควรมีมากเกินไป
3)
การพัฒนาสมรรถนะความเข้มแข็งของบุคลากรในท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาหลักสูตรได้เอง และ
4)
พัฒนาวิธีการเรียนการสอนและการลดภาระงานของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนลง
ความสำคัญ
ความดี และคุณค่าจากสิ่งที่อ่าน
จากข้อคิดเห็นนี้
ทำให้ต้องหันกลับมามองประเทศไทย ที่พยายามพัฒนาหลักสูตรที่คิดว่าดีที่สุด
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น แต่นับวันก็จะยิ่งแย่ลง
เราเปลี่ยนหลักสูตรแต่ละครั้งใช้เวลา 6 ปี ซึ่งก็คล้ายกับประเทศอื่น ๆ จากหลักสูตรฯปี 44 มาหลักสูตรฯปี
51 แล้วกำลังจะเปลี่ยนอีกเร็ว ๆ นี้ จริงอยู่ที่หลักสูตรต้องเปลี่ยนให้ทันกับความก้าวหน้าของโลก
แต่เมื่อกำหนดหลักสูตรแบบใด ก็ต้องพัฒนาครูให้ทันควบคู่ไปด้วย
เพราะที่ผ่านมาต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ กับการใช้หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง
แทนที่จะเกิดผลดีต่อเด็ก แต่สำหรับครูแล้วกลับมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก
เบื่อหน่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครูก็จะมีหลักสูตรไว้สำหรับให้ตรวจ
แต่การเรียนการสอนจริง กลับไปใช้หนังสือเรียนจากสำนักพิมพ์ต่อไป
ต่อให้หลักสูตรดีอย่างไร ถ้าเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติของครูไม่ได้
คุณภาพการศึกษาก็จะยังคงตกต่ำเช่นนี้ต่อไป
หมายเหตุ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) คือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The
Thailand Development Research Institute) ก่อตั้งขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2527 เพื่อทำการวิจัยเชิงนโยบาย และเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อภาครัฐและเอกชน
เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายระยะยาวอันมีผลต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง http : // tdri.or.th/wp-content/uploads
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ไม่ควรสนับสนุนให้ใช้หนังสือนะครับ เพราะเป็นการบล๊อกความคิดทั้งครูและเด็ก
ตอบลบ