วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (4)


กิจกรรมที่ 4 : ฝึกปฏิบัติ “การวางแผนพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21” ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามสาขาวิชาเอก หรือตามความสนใจ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้เรื่อง “สี่เสาหลักการศึกษา” คุณลักษณะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 -3 R’s x 7 C’s และ “การศึกษามาตรฐานสากล”


                หลักสูตรที่จะนำมาวางแผน คือ หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องบางบัวทองศึกษาโดยดำเนินการตามแนวทางการวางแผนหลักสูตร 10 ข้อ ของ ฮาร์เด็น (Harden.1986) ดังนี้  
                1. ความต้องการจำเป็นของหลักสูตร หรือโปรแกรมการศึกษาที่จะต้องได้รับการตอบสนอง
                ความต้องการจำเป็นในการจัดทำหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บางบัวทองศึกษา เกิดจากเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
                1) ความต้องการจำเป็นตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง
                2) จากการวิเคราะห์ประมวลเอกสาร และจดหมายเหตุวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี
                3) สัมภาษณ์บุคคล “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

                2. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดว่าจะให้เกิดขึ้น
                ตารางแสดงหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา (รวม 24 ชั่วโมง)

หน่วยการเรียนรู้ที่
ชื่อหน่วย                  การเรียนรู้
     ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
           สาระการเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง
       1
สภาพทั่วไปของอำเภอบางบัวทอง
1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
1. ประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
     3
 
 
2. รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับ ที่ตั้ง  อาณาเขต และการคมนาคมของอำเภอบางบัวทอง
2. ที่ตั้ง อาณาเขต และการคมนาคม
 
 
 
3. บอกและอธิบายลักษณะภูมิอากาศของอำเภอบางบัวทองที่เกี่ยวข้อง        กับการดำรงชีวิตของประชากร            ในอำเภอบางบัวทอง
3. ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
 
       2
สังคมและความเป็นอยู่
1. สามารถรวบรวมข้อมูลของ             ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
1. การประกอบอาชีพของประชากรในอำเภอบางบัวทอง
      10
 
 
2. ศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทองในอดีตและปัจจุบัน
2. บุคคลสำคัญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอบางบัวทอง
 
 
 
 
3. เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
        3
แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีในอำเภอ บางบัวทอง
1. ศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญในอำเภอบางบัวทอง
1. โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญในอำเภอบางบัวทอง
      11
 
 
2. อภิปรายและสรุปถึงแนวทางในการอนุรักษ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญในอำเภอบางบัวทอง
2. เตรียมตัวไปแหล่งเรียนรู้
 
 
 
 
3. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในอำเภอบางบัวทอง
 
 
 
 
4.ความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น
 

 
                ตารางแสดงการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5)

กลุ่มสาระการเรียนรู้
                มาตรฐานการเรียนรู้
                   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 2.1
ปฏิบัติตนตามหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
1.รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเพณี ความเชื่อที่สำคัญของอำเภอบางบัวทอง
2. อภิปรายและสรุปถึงแนวทางในการอนุรักษ์ ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีของอำเภอบางบัวทอง
 
มาตรฐาน ส 4.3
เข้าใจความเป็นมาของท้องถิ่น วัฒนธรรม           ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจ                        และธำรงความเป็นไทย
1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
2. สามารถรวบรวมข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
3. ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทอง ในอดีตและปัจจุบัน
 
มาตรฐาน ส 5.1
เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ปรากฏในระหว่างที่ ซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลภูมิสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ และพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ
1. รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบางบัวทอง
2. บอกลักษณะภูมิอากาศของอำเภอบางบัวทอง
3. อธิบายถึงลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ          ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชากร                ในอำเภอบางบัวทอง
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 5.2
เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม และมีจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญ ในอำเภอบางบัวทอง
2. อภิปรายและสรุปถึงแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญในอำเภอบางบัวทอง


                3. ขอบข่ายเนื้อหาสาระของหลักสูตร
                การเรียนรู้ในบริบทท้องถิ่นกับมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาเป็นเนื้อหาสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นเนื้อหาในสาระ คือ
                สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
                                มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่การเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณี และวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่รวมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
                สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
                                มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย
                สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
                                มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในระวางที่ ซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูล ภูมิสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ และพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ
                                มาตรฐาน 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

                4. การจัดระเบียบระบบเนื้อหาสาระของหลักสูตร

               หน่วย
   แผนที่
                              สาระการเรียนรู้
  ชั่วโมง
ทดสอบ
 
ทดสอบก่อนเรียน
 
       1
ที่ตั้ง อาณาเขต และการคมนาคม
       1
หน่วยที่ 1 สภาพทั่วไป
ของอำเภอบางบัวทอง
       2
ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
       1
       3
ประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
       1
       4
การประกอบอาชีพของประชาชนในอำเภอบางบัวทอง
       2
หน่วยที่ 2 สังคมและ
ความเป็นอยู่ ในอำเภอ
บางบัวทอง
       5
บุคคลสำคัญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอบางบัวทอง
       3
       6
เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
       5
       7
โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญในอำเภอบางบัวทอง
       2
หน่วยที่ 3 แหล่งเรียนรู้
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ในอำเภอบางบัวทอง
      8
เตรียมตัวไปแหล่งเรียนรู้
       2
      9
ศึกษาแหล่งเรียนรู้โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในอำเภอบางบัวทอง
       5
     10
ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นศึกษา แหล่งเรียนรู้โบราณสถาน โบราณวัตถุ
       2
             ทดสอบ
 
ทดสอบหลังเรียน
 


                5. กลยุทธ์การศึกษาที่นำมาใช้ในการสอน
                กลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการสอน คือการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีหลายลักษณะ ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออื่นๆ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า เช่น แผนที่ แผนภูมิ ใบความรู้ บัตรกิจกรรม รูปภาพ ของจริง แหล่งเรียนรู้โบราณสถาน โบราณวัตถุ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
                6. วิธีสอนที่นำมาใช้ในการสอนทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย รวมถึงเทคโนโลยี การเรียนรู้ใหม่ๆ
                จัดการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มาเชื่อมโยงในการจัดการเรียนการสอน ในลักษณะผู้สอนคนเดียว โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่กำหนด จัดกิจกรรมการเรียนโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่ม มีนักเรียนชายและหญิง มีเด็กเก่งและเด็กอ่อน และไม่ซ้ำกันในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดความรักและความสามัคคี มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้นักเรียนอ่านใบความรู้ ปฏิบัติตามบัตรกิจกรรม มีการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศึกษาแหล่งเรียนรู้อาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการสอบถามผู้ปกครอง ผู้รู้ในท้องถิ่น หนังสือในห้องสมุด และค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
                7. การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้และการสอน
                การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพราะจะช่วยให้เห็นพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ดังนี้
                1) วัดและประเมินผลก่อนเรียน จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                2) วัดและประเมินผลระหว่างเรียน จากการปฏิบัติตามบัตรกิจกรรม
                3) วัดและประเมินผลหลังเรียน จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

                8. การสื่อสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เรียน มีการกำหนดคำชี้แจงในการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
                1) ก่อนสอน ผู้สอนต้องศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา
                2) ก่อนสอนต้องประชุมผู้ปกครองนักเรียน หรือมีหนังสือชี้แจงการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา ให้แก่นักเรียน และขอความร่วมมือผู้ปกครองในการให้คำแนะนำในการทำแบบฝึกหัด เมื่อนักเรียนนำกลับไปทำเป็นการบ้าน
                3) ครูศึกษาประวัติของเด็กเกี่ยวกับครอบครัว และการเรียนของนักเรียน โดยเฉพาะทักษะภาษาไทย เพื่อเป็นแนวทาง ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้แก่นักเรียน
                4) ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สร้างขึ้นตามขั้นตอน ของการสร้างแบบทดสอบ จำนวน 30 ข้อ แล้วบันทึกผลคะแนนลงในแบบบันทึกผลคะแนน
                5) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัว-ทองศึกษา จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับเอกสารประกอบการเรียน ซึ่งเป็นใบความรู้ จำนวน33 เรื่อง (ใบความรู้ที่ 1-33) และบัตรกิจกรรม จำนวน 13 กิจกรรม                          (บัตรกิจกรรมที่ 1-13)
                6) เมื่อจบการเรียนรู้กิจกรรมครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ทดสอบหลังเรียน ครูบันทึกผลคะแนนลงในแบบบันทึกผลคะแนน
                7) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากกิจกรรมการเรียนรู้ จากแผนการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา  
                8) หลังจากสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทอง-ศึกษา ต้องแจ้งผลการพัฒนาโดยการเปรียบเทียบจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการสรุปความก้าวหน้าโดยรวมอีกครั้ง
                 9) ให้นักเรียนตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บางบัวทองศึกษา เพื่อศึกษาความคิดเห็น

                9. บริบทของการศึกษา
                หลักสูตรสาระท้องถิ่น เรื่อง บางบัวทองศึกษา เป็นหลักสูตรที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอบางบัวทองเท่านั้น สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในอำเภออื่นๆ จะต้องสร้างและพัฒนาหลักสูตรสาระท้องถิ่นเป็นของตนเอง ขึ้นมาใหม่ โดยอาจนำตัวอย่างของหลักสูตรนี้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
                10. การบริหารจัดการหลักสูตร
                ได้ดำเนินการนำหลักสูตรสาระท้องถิ่น เรื่อง บางบัวทองศึกษา ลงสู่การปฏิบัติในทุกโรงเรียนของอำเภอบางบัวทอง ดังนี้

      วัน เดือน ปี
        ระยะเวลา
                 แผนการจัดการเรียนรู้ที่/เรื่อง
    จำนวน
   (ชั่วโมง)
 
 
ทดสอบก่อนเรียน
 
(หมายเหตุ)
วัน เดือน ปี
และระยะเวลา
โรงเรียนเป็นผู้
กำหนดเอง
หน่วยที่ 1 สภาพทั่วไปของอำเภอบางบัวทอง
        3
แผนที่ 1 ประวัติความเป็นมาของอำเภอบางบัวทอง
        1
แผนที่ 2 ที่ตั้ง อาณาเขต และการคมนาคม
        1
 
 
แผนที่ 3 ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
        1
 
 
หน่วยที่ 2 สังคมและความเป็นอยู่
       10
 
 
แผนที่ 4 การประกอบอาชีพ
        2
 
 
แผนที่ 5 บุคคลสำคัญ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
        3
 
 
แผนที่ 6 เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
        5
 
 
หน่วยที่ 3 แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
       11
 
 
แผนที่ 7 โบราณสถานและโบราณวัตถุ
        2
 
 
แผนที่ 8 เตรียมตัวไปแหล่งเรียนรู้
        2
 
 
แผนที่ 9 ศึกษาแหล่งเรียนรู้
        5
 
 
แผนที่ 10 ความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณี
        2
 
 
ทดสอบหลังเรียน
 
 
 
รวม 10 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลา
       24

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น