วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (9)


กิจกรรมที่ 9:1. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ก่อนนำหลักสูตรไปใช้
                ขั้นตอนการประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 4 ขั้นตอน คือ
                1) กำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินหลักสูตร
                    (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                   (2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                   (3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร
                   (4) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                   (5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และเป็นอุปสรรค ต่อประสิทธิภาพในการใช้หลักสูตร
                   (6) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                2) วางแผนการดำเนินการประเมิน
                กระบวนการ
                P (Plan) วางแผน
                - วางแผนร่วมกันกับครู และผู้บริหาร
                - วางแผนปฏิบัติการทำวิจัยร่วมกับค
                A (Action) ปฏิบัติตามแผน
                - สังเกต การสอน
                - สัมภาษณ์
                - สังเกต สภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                - ศึกษาเอกสาร
                O (Observe) สังเกตผลที่เกิดขึ้น
                R (Reflect) สะท้อนผลและแก้ไข
                - สะท้อนคิด (reflect)
                - เป็นพี่เลี้ยง (mentor)
                - สอนแนะ (coach)
                3) ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
                นำหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับร่างไปทดลองกับโรงเรียนต้นแบบ การใช้หลักสูตร จำนวน 555 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทละ 185 โรงเรียน ได้มาจากการคัดเลือกของเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตๆละ 3 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังใช้ในโรงเรียนที่มีความพร้อม และแสดงเจตจำนง ที่จะใช้หลักสูตรแกนกลางฯ คู่ขนานกับโรงเรียนต้นแบบ อีกจำนวนประมาณ 1,000 โรงเรียน ปีการศึกษา 2552 ใช้หลักสูตรแกนกลางในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 และทยอยใช้ในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษาถัดไปจนครบทุกชั้นในปีการศึกษา 2554 สำหรับ โรงเรียนทั่วไป เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
                4) การประเมินผลการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหลักสูตร ก่อนนำไปใช้จริง
                ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                (1) รูปแบบกระบวนการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการ จัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา และการใช้หลักสูตร สถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืนในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                                                สพฐ. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุน สพท. และโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรค ของครูและโรงเรียน ในการนำหลักสูตรแกนกลางฯไปใช้ มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร
                ระดับสถานศึกษา
                 (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เป็นอย่างไร
                (4) รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู และรูปแบบการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกัน อย่างยั่งยืน ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (5) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน
                (6) ปัญหาอุปสรรคของครู และโรงเรียนในการนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (7) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้ เป็นอย่างไร
                ระดับห้องเรียน
                (1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ระดับชั้นเป็นอย่างไร
                (2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน ของรายวิชาที่สอน ที่สอดคล้องเหมาะสม ตามหลักสูตรแกนกลางฯ เป็นอย่างไร
                (3) รูปแบบการสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนางานของครู เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นอย่างไร
                (4) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน
                                ระดับ     ห้องเรียน เช่น พฤติกรรมการเรียนการสอน
                                                โรงเรียน เช่น การบริหารจัดการ
                                                สพท. เช่น วิธีการ/กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนครู
                (5) ปัญหาอุปสรรคของครู ในการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปใช้มีอะไรบ้าง
                (6) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร

                2. ฝึกปฏิบัติการประเมินหลักสูตร และเขียนแผนการประเมินหลักสูตร

                การประเมินหลักสูตร โดย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
                1) สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด การดำเนินการพัฒนากลักสูตรสถานศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนให้ ครูสามารถจัดการเรียนการสอน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผล และเป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                2) สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางฯ ขณะเดียวกันต้องสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ และการตอบสนองของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้แบบสังเกต
                3) สัมภาษณ์ผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้น การสังเกตการณ์สอนของครู โดยดำเนินการให้ครู หรือศึกษานิเทศก์ เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน ที่น่าสนใจ โดยให้เป็นเด็กกลุ่มเก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างน้อยกลุ่มละ 2 คน รวม 6 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเห็น ความพึงพอใจ ความต้องการของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู และการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์
                4) สัมภาษณ์ครู เป็นขั้นตอนหลังจากที่เสร็จสิ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแล้ว ให้ศึกษานิเทศก์ สัมภาษณ์ครู โดยมรวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบผลการสังเกต และให้ครูสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยใช้แบบการสัมภาษณ์
                5) สัมภาษณ์ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวัง และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางฯ โดยใช้แบบสัมภาษณ
                6) สังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall) เป็นการรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบรรยากาศทางวิชาการ หรือการส่งเสริมสนับสนุน การใช้หลักสูตรแกนกลางฯ เช่น การจัดการเรียนการสอนในห้องอื่นๆ พฤติกรรมของครูในห้องพักครู ประเด็นการพูดคุย และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการสอนภายในโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการสังเกตสภาพทั่วไป อาจดำเนินการก่อนการสังเกตการณ์สอน หรือหลังการสังเกตการสอนก็ได้
                7) ศึกษาเอกสาร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีหลักฐานที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนา และการใช้หลักสูตรแกนกลางฯมากขึ้น เช่น เอกสารข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน เอกสารหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ เป็นต้น
                เครื่องมือ
                ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
                1) แบบสังเกต
                2) แบบการสังเกตการสอน
                3) แบบการบันทึกการสังเกตสภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
                4) แบบสัมภาษณ์
                    (1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน
                    (2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน
                    (3) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา
                    (4) แบบสัมภาษณ์กรรมการสถานศึกษา
                    (5) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
                3) แบบบันทึกเอกสาร ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (ให้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลออกแบบบันทึกด้วยตนเอง)

                การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพ
                การตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การเชื่อมโยงแบบ 3 เส้า (triangulation) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายวิธี เช่น การสังเกตการณ์สอน การสังเกตสภาพทั่วไปของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ การศึกษาเอกสาร และหลักฐานร่องรอย
                การวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการ ดังนี้
                1) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสาร โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อหา ที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น (Manifest Content) ไม่วิเคราะห์เนื้อหา ที่มีความนัยแฝงอยู่ จากนั้นจะสรุปใจความในเอกสาร ตามประเด็นที่ศึกษา
                2) การวิเคราะห์อุปนัย (Analytic Induction) เป็นวิธีการที่ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสังเกต และการสัมภาษณ์ โดยการแยกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้
                3) การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเบื้องต้น คือ การแจกแจงความถี่ และการหาค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ได้จากแบบสอบถาม

                3. ฝึกปฏิบัติการเขียนระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ ตาม SOLO Taxonomy

                                 เชิงปริมาณ
                                   เชิงคุณภาพ
                 SOLO 1
      ระดับโครงสร้างเดี่ยว
              SOLO 2
ระดับโครงสร้างหลากหลาย
                 SOLO 3
ระดับความสัมพันธ์ของ       โครงสร้าง
                SOLO 4
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
1. บอกลักษณะภูมิอากาศของอำเภอบางบัวทอง(บอก ระบุ)
2. ระบุที่ตั้งของอำเภอบางบัวทองได้ (ระบุ)
1. รู้และเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่สำคัญของอำเภอบางบัวทอง (อธิบาย อธิบายได้ว่า)
2. บอกและอธิบาย ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบางบัวทองที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชากรในอำเภอบางบัวทอง (บอก อธิบาย)
1. สามารถรวบรวมข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทอง ในอดีตและปัจจุบัน (วางแผน)
2. ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาชีพของคนในอำเภอบางบัวทองในอดีตและปัจจุบัน(วิเคราะห์ เปรียบเทียบ)
1. อภิปรายและสรุป ถึงแนวทางในการอนุรักษ์ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีของอำเภอบางบัวทอง (อภิปราย สรุป)
2. คาดคะเน ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบางบัวทองในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล (คาดคะเน คิดอย่างมีเหตุผล)

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น