วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรม : การพัฒนาหลักสูตร (8)


กิจกรรมที่ 8 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามประเด็นต่อไปนี้

                1. ศึกษาแนวคิด การจัดการเรียนการสอน หรือจัดการเรียนรู้
                คาลวิล สมิธ และคณะ (Dr Calvin Smith, Dr Duncan Nulty, Ms Mandy Lupton and Dr Heather Alexander.) ได้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้และการสอน ดังนี้
                1. สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียน ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจ และมีแรงกระตุ้นปัญญา
                 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหา และตั้งคำถาม อย่างมีวิจารณญาณ และส่งเสริมการสรรค์สร้าง อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
                3. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และการบูรณาการ ทฤษฎีและองค์ความรู้ ด้วยการปฏิบัติการอย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหา ที่นำไปใช้ได้จริง
                4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่พัฒนาความสามารถ ระหว่างวัฒนธรรม ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านสังคม และการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
                5. คุณค่าและความทรงจำ ของแต่ละบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบท ของการสนับสนุน และเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
                6. การเพิ่มการมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ของผู้เรียน มีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอน และ   กลยุทธ์ของการประเมิน
                7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาวิชาชีพ และการสะท้อนความคิด ให้สารสนเทศ ด้วยการประยุกต์แนวคิดของการวัดประเมินผล
                ทิศนา แขมมณี (2545 : 472) ได้ให้ความเห็นว่า ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสอน ที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย/จุดประสงค์ ของการสอนที่กำหนด ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด วิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลาย หรือได้มาจากการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างๆ ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบททางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบ การจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น

                ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความรู้ความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีความสุข
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 181-182) กล่าวว่า การสอนเป็นศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่ง เนื่องจากงานของผู้สอนนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูล หรือแม้กระทั่งความรู้เท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องนำเสนอความรู้ ในลักษณะของการเสนอปัญหา ในบริบทใดบริบทหนึ่ง และเสนอปัญหาต่างๆอย่างถูกต้อง เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถนำวิธีแก้ปัญหานั้น ไปใช้กับเรื่องอื่นๆได้ต่อไป
                คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 : 107-122) สรุปไว้ว่า การศึกษาตลอดชีวิต อาศัยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
                1. การเรียนเพื่อรู้ คือการฝึกฝน ให้รู้วิธีที่จะเข้าใจ การเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้
                2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เพื่อจะได้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่แวดล้อมเราอยู่
                3. การเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน เพื่อสามารถมีส่วนร่วม และร่วมมือกับผู้อื่น ในกิจการทั้งปวงของมวลมนุษย์
                4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต เพื่อที่จะพัฒนามนุษย์ ให้เป็นบุคคลที่เพียบพร้อม เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต
                โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004 : 4) กล่าวว่า การที่จะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ
                1. ความรู้ (Knowledge) ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ในเนื้อหาสาระในวิชาที่สอน
                2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้สอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือ ที่ช่วยส่งผ่านเนื้อหาสาระ ที่จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจบทบาทได้ดีขึ้น
                3. ทักษะที่เกี่ยวข้อง (Involvement Skills) ผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักผู้เรียน อย่างน้อยจะต้องรู้จักชื่อ รู้จักว่าผู้เรียนมาจากไหน และควรให้ผู้เรียนแนะนำตนเองก่อนเรียน ผู้สอนควรถามตนเองว่ารู้จักผู้เรียนดีพอแล้วหรือไม่
                ดิค และแคเรย์ (Dick & Carey, 2004 : 4) เสนอแนวคิดไว้ว่า กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
                1. กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน
                2. การนำเสนอสารสนเทศในการเรียนรู้
                3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                4. การทดสอบ
                5. การติดตามผล
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล, 2547 : 170) ได้เสนอรูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (dimension of learning) ที่ช่วยให้ครูผู้สอน มีโครงสร้างเกี่ยวกับ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้มิติของการคิดมิติต่างๆ 5 มิติ
                มิติที่ 1 เจตคติและการรับรู้ (Attitude and Perception) ภาระงานการออกแบบ หลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมีเป้าหมาย สร้างเจตคติที่ดี และการรับรู้เชิงบวกต่อการเรียนรู้ เพราะทั้งเจตคติและการรับรู้ มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้
                มิติที่ 2 การแสวงหาความรู้ และการบูรณาการความรู้ (Acquire and Integrate Knowledge) ภาระงานออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมุ่งช่วยให้ผู้เรียน สามารถโยงความรู้ใหม่ เข้ากับความรู้เดิม จัดระบบข้อมูล ได้อย่างมีเป้าหมาย และสร้างให้เกิดความจำในระยะยาว (long term memory) ในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการใหม่ ผู้เรียนต้องเรียนรู้รูปแบบ/ลำดับขั้นก่อน จากนั้นฝึกทักษะตามขั้นตอน หรือกระบวนการเพื่อทำให้เป็น และท้ายที่สุด ฝึกฝนทักษะกระบวนการเหล่านั้นเพื่อให้ทำได้อย่างคล่องแคล่ว
                มิติที่ 3 การขยายและปรับแต่งความรู้ (extend and refine knowledge) การเรียนรู้เพื่อให้รู้ลึกรู้จริง ในสิ่งที่เรียนต้องไม่หยุด อยู่เพียงมิติที่ 2 แต่จ้องให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยกระบวนการแตกหน่อ ต่อยอด และปรับแต่งความรู้ให้รู้จริงยิ่งขึ้น ภาระงานที่ออกแบบ จึงต้องมีจุดมุ่งหมาย ในการช่วยให้ผู้เรียน ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และเชื่อมโยงกับระดับความคิดที่สูงขึ้น โดยได้ทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ในการใช้ความคิด ใช้ความเป็นเหตุเป็นผ
                มิติที่ 4 การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย (use knowledge meaningfully) การเรียนรู้ที่บังเกิดผลสูงสุด จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ในการปฏิบัติภาระงาน ที่มีความหมายต่อตน มิใช่เรียนโดยไร้ความหมาย การเรียนรู้ที่จะทำให้มีความหมาย จะต้องมีการวางแผน ออกแบบ ภาระงานให้ผู้เรียน ได้ผ่านกระบวนการคิด ที่มั่นใจว่าผู้เรียน ได้ใช้ความรู้นั้นอย่างเกิดผล
                มิติที่ 5 จิตนักคิด (productive habits of mind) นักคิดจะมีนิสัย รักการสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ และรู้จักระบบควบคุมพฤติกรรมของตน ภาระงานการเรียนรู้ ต้องร่วมสร้างผู้เรียน ให้มีนิสัยนักคิดเหล่านี้
                มิติการเรียนรู้ทั้ง 5 นี้ มิได้เกิดเป็นลำดับขั้น แต่เป็นการสนับสนุนกันและกัน กล่าวคือ จะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ ผู้เรียนต้องคงความมีเจตคติที่ดีตลอด เมื่อผู้เรียนมีเจตคติที่ดี (มิติที่ 1) ย่อมอยากเรียน การเรียนรู้ก็จะง่ายขึ้น และถ้ามีจิตนักคิด (มิติที่ 5) ก็จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ฉะนั้นมิติที่ 1 และมิติที่ 5 จึงเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการคิดที่ต้องการในมิติที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้การคิดในมิติที่ 2,3 และ 4 เป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้เป็นทักษะการคิดที่แยกส่วน หรือเป็นลำดับต่อเนื่องกัน แต่สามารถเกิดในช่วงการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันได้
                มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ, ผู้แปล. 2547 : 170) เสนอกลวิธีการสอน ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ดังนี้
                1. การระบุความเหมือนและความแตกต่าง
                2. การสรุปความ และการจดบันทึกย่อ
                3. การเสริมแรงความเพียรพยายาม และการยอมรับ
                4. การบ้านและการฝึกปฏิบัติ
                5. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้ภาษา
                6. การเรียนรู้แบบร่วมมือ
                7. การกำหนดวัตถุประสงค์ และการให้ผลย้อนกลับ
                8. การตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
                9. คำถาม ตัวแนะและโครงสร้างความคิด ก่อนการเรียนการสอน

                2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ
                                        เปรียบเทียบการสอนโดยตรง และการสอนตามความสนใจ

                          การสอนโดยตรง
                         การสอนตามความสนใจ
     การเรียนการสอนโดยตรง (Direct Instruction Methods)
     ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน และกำหนดอัตราการพัฒนา ในการเรียนการสอน ในแต่ละตอนได้
- ผู้เรียนเรียนรู้เป็นลำดับ จากชุดของสื่อการเรียนรู้ หรือภาระงานภายใต้การนิเทศงาน ของครูผู้สอนโดยตรง
การสอนโดยตรงควรนำมาใช้ เมื่อมีความต้องการ ดังนี้
     1. การเรียนรู้ทักษะ และสารสนเทศโดยเฉพาะ
     2. การเรียนการสอนต้องการให้การเรียนรู้ทักษะ
     3. คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
     4. ต้องมีแรงจูงใจภายนอก เช่น ในรูปแบบของเรื่องราว  
         การสาธิต และเหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
ลักษณะของการสอนโดยตรง:
     1. ผลการเรียนรู้คาดหวังชัดเจน
     2. การสอนกลุ่มใหญ่ที่ครูเป็นผู้สอน
     3. การกำกับติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
     4. มีการตั้งคำถามความคิดในระดับต่ำ
การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1: การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
     ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจมากเพียงพอ ที่จะเกิดความตั้งใจ ในภาระงานที่เรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย และมีส่วนร่วมจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 2 : การนำเสนอข้อมูลใหม่ การถ่ายทอดข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียนผ่านวิธีต่างๆ
     การอธิบาย-พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อคำถาม
                      -ถามทีละขั้นตอน
     การสาธิต-การเรียนการสอนที่ซับซ้อน เครื่องมือมีจำกัด   
                    -คำนึงถึงความปลอดภัย
                    - ต้องมีทักษะการคิดระดับสูง
     ตำรา-แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
     แบบฝึกหัดและการฝึกเขียนสำหรับผู้เรียน
           -การจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
                         การสอนโดยตรง                                      
     การสอนตามความสนใจ คือการสอนแบบ 4 MAT มีขั้นตอนการสอน ดังนี้
     1. ให้แต่ละคนตระหนักด้วยตนเองว่า ทำไมต้องเรียน
     2. วิเคราะห์ประสบการณ์
     3. ปรับประสบการณ์ เป็นความคิดรวบยอด
     4. หาความรู้เพิ่ม
     5. ทำตามแนวความคิดที่กำหนด
     6. ลงมือทำโดยสร้างชิ้นงาน ตามความถนัด และความสนใจ ให้เหมาะสมด้วยตนเอง
     7. วิเคราะห์ผล
     8. แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้อื่น หรือประยุกต์ใช้
 
      โสตทัศนูปกรณ์-ความน่าสนใจและแม่นยำในการ 
                                  นำเสนอข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 3: การแนะแนวทางการปฏิบัติ การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการนำไปประยุกต์ใช้
     สาระเบื้องต้น คือ การยืนยันความถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิด และข้อเสนอแนะ
     ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่ม จะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
     โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้างต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ
 


                3. นำเสนอนวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ
                                            ตัวอย่างนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                1. รายงานการวิจัย ผลการพัฒนาความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                2. ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
                   1) คู่มือการจัดทำศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                   2) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                   3) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 2 เรียนรู้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
                   4) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 3 นักวิทยาศาสตร์น้อย
                3. คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
                4. รายงานผลการจัดทำ และการใช้ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น