กิจกรรมที่ 2 : ศึกษาประวัติการศึกษาของประเทศไทย
แล้วนำมาวิเคราะห์ ตามประเด็นต่อไปนี้
2.1
ศึกษาประวัติการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกถึงปัจจุบัน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ
พ.ศ.2475
เป็นต้นมา รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแต่ละคณะ
ต่างก็ได้พยายามทำนุบำรุงและพัฒนาการศึกษาตลอดมา
และได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการศึกษาขึ้น ซึ่งนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา
ได้มีการใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้
1)
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2475
ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นด้านการศึกษา 3 ส่วน คือ
จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา
ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
2.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479
แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผน
ปี พ.ศ.2475 เนื่องจากว่าแผนการศึกษาฉบับปี
พ.ศ. 2475 นั้น มีระยะเวลาในการศึกษาสายสามัญ นานเกินสมควร
คือต้องเรียนสายสามัญ 12 ปี
และยังต้องเข้าเรียนต่อสายวิสามัญอีก แผนการศึกษาปี พ.ศ. 2479 นี้กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษาเพียง 4 ปี
ทั้งนี้ เป็นเพราะต้องการเร่งรัดให้ประชาชนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับถึงกึ่งหนึ่งโดย
เร็วโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเน้นให้การศึกษาทั้ง 3
ด้าน
3.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494
ในแผนนี้ได้เพิ่ม หัตถกรรม
คือการฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4 ส่วน
จึงเป็น “องค์สี่แห่งการศึกษา” คือ
พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา (ได้อิทธิพลปรัชญาการศึกษาแบบอเมริกัน)
และได้มีการกล่าวถึงการศึกษาพิเศษ และการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญศึกษาขึ้นเป็นกรมประชาบาลศึกษา
เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีความพยายามขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปีอีกด้วย
4.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
แผนนี้ได้นำเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2494 มาปรับปรุงใหม่
เพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับการปกครองประเทศ
แผนฯนี้ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี
จัดเน้นให้การศึกษา 4 ส่วน และได้จัดระบบการศึกษา เป็น 7:3:2
(ประถม 7 ปี (ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3
ปี มัธยมปลาย 2 ปี)
แผนนี้มีอายุการใช้ยาวนานที่สุดถึง 16 ปี
5.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2512
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความ ประกาศเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ ความว
“การจัดให้มีสถานศึกษานั้น รัฐใช้วิธีแบ่งแยก คือ
รัฐจัดเองบ้าง และส่งเสริมให้คณะบุคคลหรือเอกชนจัดบ้าง”
6.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
แผนนี้ต้องการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสังคม
เพื่อสามารถอบรมพลเมืองให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จัดระบบการศึกษาเป็น 6:3:3 โดยได้ลดชั้นประถมลง 1 ปี และเพิ่มชั้นมัธยมปลาย 1 ปี เท่าระบบปัจจุบัน
แต่เวลาเรียนยังเป็น 12 ปี แผนการศึกษาฉบับนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นพิเศษ
อีกด้วย แผนการศึกษาแห่งชาติ 2520 นี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารประถมศึกษาครั้งใหญ่
7.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535
แผนนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผนการศึกษา
พ.ศ.2520 เพื่อให้ระบบการศึกษาสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน
สังคมไทยอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาในระบบ 6:3:3
โดยมุ่งจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้านอย่างสมดุลและกลมกลืนกัน
คือ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย และด้านสังคม
ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้
8.
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559
เรื่องสำคัญที่ครูทุกคนจำได้ในแผนนี้
คือสอนให้นักเรียน เก่ง ดี มีสุข
วัตถุประสงค์
1 : พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 1 : การพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 2 : การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 3 : การปลูกฝังและเสริมสร้าง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 4 : การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ 2 : สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
แนวนโยบาย เพื่อดำเนินการ 5 : การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของคน
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 6 : การส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้ของสังคมไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 7 : การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ 3 : เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 8 : การส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนฐานของศาสนาภูมิปัญญาท้องถิ่น/ไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 9 : การจำกัด ลด ขจัดปัญหาทางโครงสร้างที่ก่อให้เกิดและ/หรือคงไว้ซึ่งความยากจน ขัดสน ด้อยทั้งโอกาสและศักดิ์ศรีของคนและสังคมไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 10 : การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
แนวนโยบายเพื่อดำเนิน การ 11 : การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 1 : การพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 2 : การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 3 : การปลูกฝังและเสริมสร้าง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 4 : การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ 2 : สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
แนวนโยบาย เพื่อดำเนินการ 5 : การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของคน
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 6 : การส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้ของสังคมไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 7 : การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ 3 : เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 8 : การส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนฐานของศาสนาภูมิปัญญาท้องถิ่น/ไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 9 : การจำกัด ลด ขจัดปัญหาทางโครงสร้างที่ก่อให้เกิดและ/หรือคงไว้ซึ่งความยากจน ขัดสน ด้อยทั้งโอกาสและศักดิ์ศรีของคนและสังคมไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 10 : การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
แนวนโยบายเพื่อดำเนิน การ 11 : การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย
9.
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2
เป็นการปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2545-2559
ที่ใช้มาแล้วครึ่งทางและยังเหลือระยะเวลาอีกกว่า 7 ปี
สาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559)
ปัจจุบันแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
แต่เนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2545 - 2559) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 จึงเห็นควรให้คงปรัชญาหลัก เจตนารมณ์
และวัตถุประสงค์ของแผนฉบับเดิมไว้ แล้วปรับปรุงในส่วนของนโยบายเป้าหมาย
และกรอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ปรัชญาหลักและกรอบแนว
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล
มีความรอบรู้ เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
และความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวม ที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการ ศาสนา
ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เจตนารมณ์ของแผน
แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่ง
(1) พัฒนาชีวิตให้เป็น
“มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
และ
(2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน
3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ
สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
วัตถุประสงค์ของแผน
เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552
-2559) จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1.
พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
2.
เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3.
เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน
และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา
และการเรียนรู้
แนวนโยบาย
เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามประการดังกล่าว
ประกอบกับการคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็น
ฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
วัตถุประสงค์
1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาแนวนโยบาย
1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม
คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสำนึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย
มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส
เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ทุรกันดาร
1.4 ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
1.6 ผลิตและพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานมีคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม
ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา
อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบันทางสังคมทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศรัย
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา
และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม พลศึกษา
กีฬาเป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้
นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้
และสร้างกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม
เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบาย
3.1 พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
โดยเร่งรัดกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา
และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ
และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา
พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข
มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ
เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย 3 ด้าน คือ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา
และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
ตลอดจนคำนึงถึงความสอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาดำเนินงานบริหารแผนสู่การปฏิบัติเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 แผนงานรีบด่วน
ระหว่างปี 2552 - 2554 ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ 1) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2) แผนขยายโอกาสทางการศึกษา
และ
3) แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา
รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
ระยะที่ 2 ระหว่างปี
2552 - 2559 ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง 14 ด้านให้บรรลุผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้
และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
นอกจากนี้
ให้มีการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา 5 ปี
เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวม
และแผนพัฒนาการศึกษาแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้แก่ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา
เป็นต้น
ในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา
ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรมีหน้าที่
ดังนี้
1. บรรยาย (Description)
การบรรยาย เป็นการบอกเล่าเกี่ยวกับ การจัดหมวดหมู่
หรือจัดจำแนกประเภทของความรู้ ที่มีรายละเอียดตามทฤษฎี ซึ่งมีการปรับแต่งโครงสร้าง
ด้วยการแปลความหมายของแต่ละคน ที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมที่สามารถปรับได้
โดยสรุปเป็นการจัดการ และสรุปความรู้
2. ทำนาย (Prediction)
การทำนาย ทฤษฎีสามารถทำนายเหตุการณ์ ทั้งที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด
ทั้งนี้อาศัยพื้นฐาน หลักการอธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน
บางครั้งการทำนายเป็นการทำหน้าที่ของทฤษฎีที่อยู่เหนือความคาดหมาย
3. อธิบาย (Explanation)
การอธิบาย คำว่า “ทำไม” ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์
แต่ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ทั้งสิ่งที่ชัดแจ้ง หรือสิ่งที่แฝงอยู่
ที่เป็นเหตุผลในสัมพันธภาพนั้น
4.
แนะแนว (Guidanc
ทฤษฎี
ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับการแนะแนว ทฤษฎีช่วยนักวิจัยเลือกข้อมูล
เพื่อการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูล ทฤษฎีจึงส่งเสริมการค้นคว้าต่อเนื่อง
2.2 วิเคราะห์
พระราชบัญญัติการศึกษาของประเทศไทย กับทฤษฎีหลักสูตร
พ.ร.บ.การศึกษาของประเทศไทย
|
ทฤษฎีหลักสูตร
|
1.
เกิดจากการศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นโยบายปฏิรูประบบราชการ
|
1. อธิบายตามความเป็นจริง
เห็นความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ กฎ
หรือสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงระบบ
|
2.
เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ผู้สนองพระบรมราชโองการ
คือนายกรัฐมนตรี
|
2. ได้มาจากการศึกษาวิจัย
หรือการคิดแบบอุปนัย หรือ นิรนัย
|
3.
ร่างโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการประชาพิจารณ์
|
3. ได้มาจากหลายสาขาวิชา
เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา
และปรัชญา
|
4. บัญญัติไว้เป็นหมวด เพื่อให้บุคคล
องค์กร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องยึดถือ และปฏิบัติตาม เช่น หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวด 3 ระบบการศึกษา เป็นต้น
|
4. การสร้างทฤษฎี
ต้องอาศัยระเบียบวิธีวิจัย
การตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน การยืนยันข้อมูล
|
|
5. ทฤษฎีเป็นความสัมพันธ์ของสัญลักษณ์
ข้อเท็จจริง หรือถ้อยคำที่สามารถจัดจำแนกเป็นมโนทัศน์หลัก และหลักการทั่วไป
|
|
6. เป็นหลักการ กฎเกณฑ์
เกี่ยวข้องกับการศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นและการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลักสูตร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น